Wednesday, April 16, 2014

1. วิธีใช้ Break ชนิดต่างๆ ในเวิร์ด a. Section break (continuous) b. Section break (new page) c. Page break



1. อธิบาย วิธีใช้ Break ชนิดต่างๆ ในเวิร์ด
a. Section break (continuous)
b. Section break (new page)
c. Page break

a. Section break (continuous)
            1. คลิกเมาส์ในตำแหน่งที่ต้องการขึ้นหน้าใหม่
2. เลือกที่ Page Layout จากนั้นคลิกตัวแบ่งส่วน (Break) และเลือกคำสั่งตัวแบ่งส่วนแบบต่อเนื่อง (Section break (continuous))
           
3. คำสั่ง ต่อเนื่อง จะแทรกตัวแบ่งส่วนและเริ่มส่วนใหม่บนหน้าเดียวกัน ซึ่งตัวแบ่งส่วนแบบต่อเนื่องนี้มีประโยชน์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบบนหนึ่งหน้า เช่น จำนวนคอลัมน์ที่ต่างกัน





4. คำสั่งตัวแบ่งส่วนต่อแบบเนื่อง (Section break (continuous)) ส่วนที่แบ่งใหม่ยังคงอยู่ในหน้าเดิม แต่ถัดไปจากส่วนเดิมเหมือนปกติ











b. Section break (new page)

1. คลิกเมาส์ในตำแหน่งที่ต้องการขึ้นหน้าใหม่
2. เลือกที่ Page Layout จากนั้นคลิกตัวแบ่งส่วน (Break) และเลือกคำสั่งตัวแบ่งส่วนแบบหน้าถัดไป (Section break (next page))



3. คำสั่ง หน้าถัดไป จะแทรกตัวแบ่งส่วนและเริ่มส่วนใหม่ในหน้าถัดไป ตัวแบ่งส่วนชนิดนี้มีประโยชน์มากโดยเฉพาะสำหรับการเริ่มบทใหม่ในเอกสาร




4. ส่วนที่แบ่งใหม่จะเริ่มต้นที่หน้าถัดไป














c. Page break
       ชนิดตัวแบ่งหน้า (Page break) สามารถแบ่งออกเป็น รูปแบบ คือ

1. ตัวแบ่งหน้า (Page) เป็นการขึ้นหน้าใหม่ เหมือนกดปุ่ม <Ctrl > + <Enter>

2. ตัวแบ่งคอลัมน์ (Column) แทรกตัวแบ่งคอลัมน์แบบใส่ด้วยตนเองที่จุดแทรก โดยให้ตำแหน่งที่เลือกไปเริ่มที่คอลัมน์ใหม่ ใช้สำหรับเอกสารที่แบ่งออกเป็นหลายคอลัมน์



3. ตัวแบ่งการตัดข้อความ (Text wrapping) สิ้นสุดบรรทัดปัจจุบันและบังคับให้ ข้อความเรียงต่อเนื่องอยู่ที่ด้านล่างรูปภาพ ตาราง หรือรายการอื่น (ข้อความจะเรียงต่อเนื่องอยู่บน บรรทัดว่างเปล่าบรรทัดถัดไปที่ไม่มีรูปภาพหรือตารางถูกจัดชิดระยะขอบซ้ายหรือชิดระยะขอบขวาอยู่) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นบรรทัดใหม่โดยยังอยู่ในย่อหน้าเดิม เหมือนกดปุ่ม <Shift>+<Enter>


1 comment:

  1. ผมไม่รู้ว่าใครถูกกว่าใคร (ระหว่างผมกับเขา ^^) แต่...ตัวแบ่งการตัดข้อความ (Text wrapping) ... ผมเรียกว่า line break เพราะมันไม่ใช่ paragraph break และในตัวอย่างนั้นก็ไม่มี object ใดๆมาเกี่ยวข้อง :)

    ReplyDelete